วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคเบาหวาน



อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
อาการของโรคเบาหวาน
คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย
  • คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
  • ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
  • อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
  • คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
  • เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
  • ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
  • อาเจียน
โรคเบาหวานและการดูแลสุขภาพ


  • ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติ  





  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ





  • มีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ





  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน





  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3 วันเป็นอย่างน้อย





  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่อนนอน บ้วนปากหลังอาหารทุกครั้ง





  • อาบน้ำวันละ 2 ครั้งใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน รักษาบริเวณซอกหนีบให้สะอาด เช่นรักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่าย





  • ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา และสบู่ทุกวัน





  • สวมเสื้อผ้าแห้ง สะอาด ระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนทุกวัน





  • หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์เพราะทำให้ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น





  • ดื่มน้ำวันละ 6 แก้ว





  • เลิกบุหรี่ และสุรา





  • มีบัตรประจำตัวว่าเป็นเบาหวาน ระบุอาการและการแก้ไขเมื่อเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ





  • ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ




  • โรคเบาหวานคืออะไร

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น